ลืม password | สมัครสมาชิก
วันที่: 2013-04-28 12:42:34.0view 33669reply 0
มารู้จักสารพันธุกรรมในร่างกายกันเถอะ เนื่องจากว่าต่อไปจะเขียนเรื่องเกี่ยวกับธาลัสซีเมีย ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม และก่อนหน้านี้ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับเด็กดาวน์ ซึ่งเป็นความผิดปกติของโครโมโซม หลายๆ คนอาจจะสงสัย อะไรคือ โครโมโซม อะไรคือ ยีน อะไรคือ ดีเอ็นเอ ก็เลยขอปูพื้นฐานเรื่องนี้ก่อนนะคะ ... ในร่างกายสิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะประกอบด้วยเซลล์ (cell) ซึ่งเป็น unit ที่เล็กที่สุด แต่ละเซ...ลล์ก็จะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่กั้นระหว่างกัน เข้ามาในเซลล์ก็จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของ cytoplasm และ nucleus ถ้าเปรียบกับโรงงาน ตัวของ nucleus จะเหมือนเป็นส่วนควบคุมการผลิต จะมีส่วนควบคุมคำสั่งสำหรับการทำงานของเซลล์ จะมีผนังกั้นที่เรียกว่า เยื่อหุ้ม nucleus ในขณะที่ cytoplasm จะเป็นส่วนที่เป็นส่วนผลิตและเก็บสินค้าต่างๆ ... วันนี้เราจะมารู้จักสารพันธุกรรมที่อยู่ใน nucleus กันคะ ภายใน nucleus จะมี DNA (deoxyribonucleic acid) ซึ่งตัว DNA ก็จะเป็นหน่วยย่อยที่สุดที่ประกอบด้วย nucleotide 4 ตัว ซึ่งจะมีลำดับในแต่ละตำแหน่งแตกต่างกัน และมีการจัดเรียงตัวเป็นสายยาว (polymer) โดยมีรูปร่างเป็นเกลียวคู่ที่เรียกว่า double helix เจ้า DNA ที่เป็นสายเกลียวคู่นี้เมื่อมารวมกันและควบคุมการแสดงออกอย่างใดอย่างหนึ่ง จะเรียกว่า ยีน (gene) โดยยีนแต่ละยีนจะมีจำนวนของ nucletide ที่แตกต่างกัน เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว เจ้า DNA สายยาวๆ นี้ก็จะขดตัวพันกันแน่นกลายเป็นแท่งๆ เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) ลองนึกภาพเชือกลูกเสือที่เราเรียนสมัยเด็กๆ เวลาปกติ ก็จะมีเส้นยาวๆ หลายๆ เส้นอยู่ใน nucleus แต่พอจะแบ่งเซลล์ ก็เหมือนเราเอาเชือกแต่ละเส้นมาม้วนเก็บแบบเชือกลูกเสือและวางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ เจ้าแท่งเชือกนั่นแหละที่เราเรียกว่า โครโมโซม ซึ่งมีทั้งหมด 23 คู่ 46 แท่ง (เป็นโครโมโซมเพศ 1 คู่) แต่ละโครโมโซมก็จะมีหน่วยย่อยเป็นยีนหลายๆ ยีน ในยีนแต่ละยีนก็จะมี DNA เยอะแนะมากมายนั่นเอง ... พอจะนึกภาพออกมั๊ยคะ ดังนั้นความผิดปกติจึงเกิดได้หลายระดับ ตั้งแต่ระดับโครโมโซม ระดับยีน และระดับ DNA การตรวจจะใช้กระบวนการทางห้องปฏิบัติการที่แตกต่างกัน การตรวจครั้งเดียวอย่างเดียวจึงไม่สามารถบอกความผิดปกติในส่วนอื่นๆ ได้ จึงต้องมีการตรวจเฉพาะสำหรับโรคแต่ละโรค ที่มีสาเหตุต่างกันนั่นเองคะ หมอเมษ์