Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เด็กๆ ต้องระวังเรื่องการทานอาหาร

วันที่: 2013-04-15 10:38:25.0view 20826reply 0

เด็กๆ ต้องระวังเรื่องการทานอาหาร

อาหารนอกบ้าน มักมีสีสัน ล่อตา ล่อใจ ..เด็กๆ ไม่ควรเผลอใจทานโดยไม่เลือก

หนูอยากไปดูเครื่องบิน ผมอยากไปขึ้นรถถัง เสียงเรียกร้องต่างๆ นานา ของเด็กๆ ที่รอคอยให้วันนี้มาถึง เพราะไม่วาจะเป็นวันเด็กหรื
อวันหยุดสุดสัปดาห์ทีไร ทุกที่มักจะมีสิ่งพิเศษๆ ไว้ให้คุณหนูหนู ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งไม่สามารถหาดูได้ง่ายๆ การพาลูกหลานออกไปเที่ยวนอกบ้าน สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการรับ...ประทานอาหารและเครื่องดื่ม ยิ่งเมืองร้อนอย่างบ้านเราด้วยแล้ว เดินแป๊บเดียวเหงื่อก็แตกผลั่ก ร้องหาน้ำกันเป็นแถว หากคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้หนูๆ ทานได้ไม่เลือกแล้วล่ะก็ อาจนำไปสู่โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารในเด็กได้ พ.ญ.พัชรินทร์อมรวิภาส กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนครินทร์ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก ไว้ดังนี้

โรคระบบทางเดินอาหารในเด็ก เป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ก็สร้างความไม่สบายกาย ให้กับเด็กและคุณพ่อคุณแม่ไ
ด้ไม่น้อย สาเหตุมาจากสุขลักษณะในการใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก เพราะโดยพื้นฐานของเด็ก ชอบทำตัวเป็นนักสำรวจ หยิบจับอะไรได้ก็เข้าปาก จึงทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย โรคระบบทางเดินอาหารในเด็กส่วนใหญ่จึงมาจากการติดเชื้อทางปากโดยน้ำลายเป็นตัวนำเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่นั่นเองที่พบได้บ่อยได้แก่

ไวรัสลงกระเพาะเด็กมักจะมีอ
าการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง มีไข้ต่ำๆ เนื่องจากภาวะขาดน้ำ เสียกรด ทำให้ อ่อนเพลีย ร้องไห้โยเย ส่วนมากเกิดได้กับเด็กวัยตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป เนื่องจากเริ่มมีพัฒนาการในการหยิบ จับ และนำสิ่งต่างๆ เข้าปาก อมมือ อมของเล่นยิ่งเด็กในช่วงวัยเรียน ที่ต้องอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน ใช้ของเล่นร่วมกับเพื่อนๆ เมื่อเด็กคนหนึ่งเล่นแล้วนำเข้าปาก ทำให้ของเล่นเปียกน้ำลาย คนที่หยิบไปเล่นต่อก็อาจจะนำไปเข้าปากอีก หรือมือเปียกน้ำลายก็ไปหยิบนู่น หยิบนี่ บ้างก็เอามือป้ายพื้นบ้าง เปียกปอนกันไปเป็นทอดๆ จึงทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย แต่เป็นโรคที่ไม่อันตรายควรหมั่นดูแลเรื่องความสะอาดของเด็ก ล้างมือให้เด็กบ่อยๆ ก็จะช่วยลดการเกิดโรคได้มากยกเว้นในกรณีที่มีอาการอาเจียนมากกว่า 2-3 ครั้งต่อวัน ซึ่งจะทำให้เด็กมีภาวะขาดน้ำมาก ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจรักษาต่อไป

ท้องเสียเกิดจากเชื้อโรคเข้
าไปในกระเพาะอาหาร และส่วนหนึ่งลงไปถึงลำไส้ใหญ่ อาการที่เรียกว่าท้องเสียคือ เด็กถ่ายเหลวเป็นจำนวน3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งต่อวัน อาการท้องเสียสามารถเกิดได้ทั้งจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย
- อาการท้องเสียจากการติดเชื้
อไวรัส เด็กมักมีไข้ต่ำๆ ถ่ายเป็นน้ำ ไม่ค่อยมีกลิ่น ไม่เพลีย ไม่ซึม แบบนี้ไม่น่าเป็นห่วง ยกเว้นเชื้อไวรัสโรต้า จะมีอาการถ่ายเป็นน้ำ 8-10 ครั้งต่อวัน ทำให้ร่างกายเสียน้ำเยอะ อ่อนเพลีย กรณีนี้จึงควรไปพบแพทย์ซึ่งอาจต้องให้เด็กนอนให้น้ำเกลือที่โรงพยาบาล แต่สำหรับเชื้อไวรัสธรรมดานั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถรักษาได้ตามอาการคือ ให้ดื่มเกลือแร่ทดแทนภาวะขาดน้ำ โดยใช้ผงเกลือแร่สำเร็จรูป ชงในน้ำ 1 แก้ว แล้วค่อยๆ ใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อยให้หมดภายใน 3-4ชม. แต่ไม่ควรให้เด็กดื่มเกลือแร่จากขวดนมหรือใช้หลอดดูด เพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมได้ไม่ดี ลำไส้ปรับสภาพไม่ทัน และเกลือแร่จะออกมากับปัสสาวะหมด สังเกตได้จากปัสสาวะของเด็กจะเป็นสีเหลืองเหมือนน้ำเกลือแร่
•อาการท้องเสียจากการติดเชื
้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากเชื้อบิด หรือเชื้อไทฟอยด์ อาการของเด็กมักมีไข้สูง ถ่ายเป็นมูกและมีเลือดปน อาการปวดท้องแบบบิดๆ กรณีนี้ค่อนข้างเป็นอันตราย และไม่สามารถหายได้เอง จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะในการรักษา จึงควรรีบมาพบแพทย์ทันที

กรดไหลย้อนใช่แล้วค่ะ เด็กก็สามารถเป็นกรดไหลย้อน
ได้เหมือนกัน คุณหมอบอกว่า จริงๆ แล้วกรดไหลย้อนสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกช่วงวัย แต่โดยพยาธิสภาพของเด็ก ซึ่งถ้าเป็นในเด็กเล็ก จะเกิดจากหูรูดที่กั้นระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของเด็กยังไม่แข็งแรง เหมือนก๊อกที่ปิดไม่ค่อยสนิท ทำให้ของเหลวในกระเพาะอาหารเอ่อท้นขึ้นมาที่หลอดอาหารได้ ทำให้หลอดอาหารระคายเคือง เป็นแผล ถลอก เด็กจึงไม่สบายตัว ไม่มีความสุข ลักษณะอาการคือ ร้องไห้โยเย ทำตัวบิดๆ หลังแอ่นๆ หน้าแดง กระสับกระส่าย ท้องอึด เมื่อกินนมไปแล้วประมาณครึ่งชั่วโมงจะแหวะออกมา และน้ำหนักตัวไม่ขึ้นหรือน้ำหนักขึ้นน้อย ซึ่งดูได้จากน้ำหนักที่เหมาะสมของแต่ละช่วงวัย

ภาวะกรดไหลย้อนไม่ใช่เรื่อง
อันตราย แต่ก็ควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูอย่างละเอียด เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เช่น ปรับเปลี่ยนวิธีการทาน เปลี่ยนสูตรของนมหรืออาหาร ให้หนืดขึ้น เพื่อให้จับตัวอยู่ในกระเพาะได้นานขึ้น ไม่เอ่อท้นขึ้นมาที่หลอดอาหาร ซึ่งแพทย์จะพิจารณาการรักษาเป็นรายๆ ไป

ภาวะการกลืนสิ่งแปลกปลอมในท
างเดินอาหารเด็กมักมีการเล่นเหรียญหรือแบตเตอรี่ในของเล่น ถ้ามีขนาดใหญ่มากกว่า3เซนติเมตร มักติดในหลอดอาหารในเด็กเล็กได้ ในกรณีแบตเตอรี่จะกัดกร่อนเนื้อเยื่อกระเพาะอาหารทะลุได้ หรือจะเป็นน้ำยาล้างห้องน้ำก็มีผลกัดกร่อนหลอดอาหาร และกระเพาะอาหารซึ่งเป็นสารอันตรายจึงควรเก็บให้พ้นมือเด็ก
การรักษาโรคระบบทางเดินอาหา
รในเด็ก คือการรักษาตามลักษณะอาการ แต่สิ่งสำคัญคือการป้องกันเพื่อให้เด็กห่างไกลจากเชื้อโรคมากกว่า พบว่าเด็กในช่วงวัยเรียน มักเป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารได้บ่อย เนื่องจากต้องอยู่ร่วมกัน ใช้สิ่งของร่วมกัน เด็กควรมีขวดน้ำแยกเป็นของส่วนตัว คุณครูควรให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ควรล้างทำความสะอาดของเล่นหรือของที่ต้องใช้ร่วมกันให้เด็กบ่อยๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างสุขลักษณะที่ดีให้กับเด็กและปลอดภัยจากโรคได้

ท้ายนี้ คุณหมออยากฝากไปถึงน้องๆ และคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องออกไ
ปทำกิจกรรมสังสรรค์ข้างนอก เรื่องการดูแล เลือกรับประทานอาหารกันหน่อย ว่า“อาหารนอกบ้าน มักมีสีสัน ล่อตา ล่อใจ แต่ก็ไม่ควรเผลอใจทานโดยไม่เลือกนะคะ ควรทานอย่างมีสติ โดยใช้หลัก 3 อย่าง คือประโยชน์ ปลอดภัย และประหยัด ควรเลือกทานอาหารที่ได้สารครบทั้ง 5 หมู่ หากในวันนั้นไม่สามารถทำได้ก็ต้องจัดสรรอาหารมื้อต่อๆ ไปให้ดี เลือกอาหารที่มีสีสันตามธรรมชาติ ไม่ฉูดฉาด เลือกร้านที่ปลอดแมลงวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ดูเกินจริง เช่น ลูกชิ้นใหญ่เป้ง น้ำแข็งใสสีแดงแจ๊ดแจ๋ นั่นหมายถึงมีสารเจือปนอยู่มากมาย ซึ่งเด็กบางคนอาจแพ้สารเหล่านี้ได้ หากคุณพ่อคุณแม่สามารถทำอาหารง่ายๆ อย่างเช่น แซนวิสไข่ดาว เพื่อนำไปทานระหว่างวันด้วยก็จะยิ่งดี เพราะเราย่อมเลือกของที่ดีที่สุดให้กับลูกเสมอ นอกจากประหยัดแล้วยังปลอดภัยและได้ประโยชน์แน่นอนค่ะ อ่อ แล้วอย่าลืมตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งก่อนทานอาหาร อาจพกเกลือแร่ติดบ้านไว้เป็นการช่วยเหลือลูกในเบื้องต้นด้วยก็ได้ สุดท้ายเพื่อความปลอดภัย ให้เก็บเหรียญ ของมีคม น้ำยาที่เป็นกรดด่าง ให้ห่างไกลจากเด็กกันด้วย”

พ.ญ.พัชรินทร์ อมรวิภาส
กุมารแพทย์โรคระบบทางเดินอา
หารและตับ
โรงพยาบาลเด็กสมิติเวชศรีนค
รินทร์
All Replys: 0   Pages: 1/0