Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ผู้หญิงวัยทองกับประโยชน์ของถั่วเหลือง (ตอน1)

วันที่: 2013-04-15 10:29:35.0view 20975reply 0

ผู้หญิงวัยทองกับประโยชน์ของถั่วเหลือง (ตอน1)

วัยทองคืออะไร

วัยทองเป็นช่วงรอยต่อระหว่า
งวัยกลางคนและวัยสูงอายุ ในช่วงอายุ 40-45 ปีขึ้นไปร่างกายของคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะมีการสร้างฮอร์โมนเพศลดลง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของเจ้าตัวและคู่สมรส ตลอดจนบุคคลอื่นในครอบครัวและสังคม ในผู้ชายวัยทอง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า เทสโตสเตอโรน (tes...tosterone) ไม่ได้ลดลงอย่างเฉียบพลัน ในทางตรงกันข้าม วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือนของผู้หญิง เป็นช่วงเวลาที่สิ้นสุดการมีประจำเดือนแล้ว เพราะรังไข่หยุดทำงาน ทำให้มีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) ลดลง ทำให้ผู้หญิงวัยนี้บางรายเกิดกลุ่มอาการ ไม่สุขสบาย เรียกว่า "กลุ่มอาการหมดประจำเดือน" เช่น มีอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน นอนไม่หลับหรือหลับยาก อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย หลงลืมง่าย บางคนมีปัสสาวะบ่อยหรือแสบ เวลาไอจามอาจจะมีปัสสาวะเล็ด ช่องคลอดแห้ง อาจมีอาการปวดแสบปวดร้อน หรือมีอาการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ผลกระทบต่อสุขภาพที่พบบ่อยได้แก่ โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือดจากการมีระดับไขมันในเลือดสูงโดยเฉพาะระดับโคเลสเตอรอล

ภาวะหมดประจำเดือนคืออะไร

ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ร่างกายจะมีการผลิตฮอร์โมนเ
อสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนลดลง จึงเป็นช่วงเวลาที่ประจำเดือนเริ่มมาไม่แน่นอน ถี่บ้างห่างบ้างตามการขึ้นลงของระดับฮอร์โมนเพศในทางการแพทย์เรียกระยะนี้ว่า ระยะก่อนหมดประจำเดือน ในระยะนี้ผู้หญิงบางคนจะเริ่มมีอาการไม่สุขสบาย เช่น ประจำเดือนมาไม่เป็นเวลา นอนไม่ค่อยหลับ อารมณ์แปรปรวน ร้อนวูบวาบ โดยทั่วไป ผู้หญิงจะเข้าวัยหมดประจำเดือนจริงๆ (menopause) เมื่อประจำเดือนหยุดมาอย่างสิ้นเชิงอย่างน้อย 1 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างอายุ 45-55 ปี เกิดเร็วหรือช้าขึ้นกับสุขภาพและกรรมพันธุ์ของแต่ละคน เช่น บางคนหมดประจำเดือนตั้งแต่อายุ 40 ปี หรือน้อยกว่า คุณผู้หญิงสามารถบอกตัวเองได้ว่ากำลังหมดประจำเดือนหรือไม่โดยสังเกตการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น

1. ประจำเดือนมาไม่แน่นอน บางทีมาถี่ๆ แล้วทิ้งช่วงหายไปหลายเดือน
แล้วกลับมามีอีก มีเลือดประจำเดือนออกมากกว่าปกติหรือมาทุก 2-3 สัปดาห์

2. อาการร้อนวูบวาบ ประมาณ 3 ใน 4 ของผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
จะมีอาการร้อนวูบวาบเกิดขึ้น บางครั้งมีอาการเหงื่อออกมากกว่าปกติทั้งที่อากาศเย็น หรือมีเหงื่อออกมาตอนกลางคืน หรือขณะหลับอยู่ อาการเหล่านี้จะเกิดบ่อยในช่วง 2-3 ปีแรกที่ประจำเดือนหมด ทั้งนี้อาการของผู้หญิงแต่ละคนจะรุนแรงไม่เท่ากัน

3. มีอาการนอนไม่หลับหรือหลับย
าก บางคนตื่นบ่อยๆ กลางดึกหรือตื่นเช้ากว่าปกต

4. มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย บางคนมีอาการเศร้าซึม

5. ปัญหาของช่องคลอด ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้
เนื้อเยื่อของช่องคลอดบางลง ความยืดหยุ่น และความหล่อลื่นลดลง ทำให้เกิดอาการเจ็บเวลาร่วมเพศ หรือมีอาการแสบคัน

6. ปัญหาของระบบทางเดินปัสสาวะ
ระดับเอสโตรเจนที่ลดลงทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเยื่อบุท่อปัสสาวะบางลง และมีความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะลดลง ผู้หญิงวัยทองมักมีอาการปัสสาวะแล้วแสบ กลั้นปัสสาวะไม่ค่อยได้หรือไม่นาน ปัสสาวะเล็ด หรือราดเวลาไอจามหรือเมื่อยกของหนัก

7. ความเต่งตึงและชุ่มชื้นของผ
ิวหนังลดลง เพราะร่างกายสร้างสารคอลลาเจนลดลง ผิวหนังแห้งง่าย มักมีอาการคัน จึงควรหาโลชั่นหรือครีมทาจะช่วยให้หายคันได้

8. การเจริญพันธุ์ลดลง เนื่องจากเวลาตกไข่ไม่แน่นอ
น แต่สามารถตั้งครรภ์ได้เสมอจนกว่าประจำเดือนจะหยุดมาเป็นเวลา 1 ปีเต็ม

การรักษาด้วยฮอร์โมน (hormone therapy)

ผู้หญิงในวัยใกล้หมดประจำเด
ือนและหลังหมดประจำเดือน จะมีภาวะที่มีฮอร์โมนบกพร่องและไม่สมดุล ทำให้เกิดกลุ่มอาการหมดประจำเดือน การให้ฮอร์โมนทดแทนสามารถลดอาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกในเวลากลางคืน อารมณ์แปรปรวน และช่วยลดอาการทางระบบสืบพันธุ์และปัสสาวะ ทำให้ผู้หญิงในวัยนี้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น รวมทั้งมีผลป้องกันกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนได้ แต่การให้ฮอร์โมนทดแทนในปัจจุบันยังมีข้อขัดแย้งถึงผลดีผลเสียที่เกิดจากการให้ฮอร์โมน เช่น จากการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา พบว่าการให้ฮอร์โมนทดแทนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมและโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นการให้ฮอร์โมนทดแทน แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาที่เหมาะสมต่อผู้หญิงแต่ละคน รวมทั้งต้องมีการติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นประจำ ด้วยความกลัวต่อโรคมะเร็งทำให้ผู้หญิงจำนวนมากยอมทนอาการไม่สุขสบายต่างๆ โดยไม่ยอมรับการใช้ฮอร์โมนทดแทน และมองหาการรักษาแบบแพทย์ทางเลือกโดยใช้สารประกอบจากธรรมชาติ เช่น ไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogen)

ประโยชน์ของไฟโตเอสโตรเจนกา
รศึกษาทางระบาดวิทยาซึ่งเป็นการศึกษาในกลุ่มคนจำนวนมาก พบว่าคนตะวันตกเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งต่อมลูกหมากสูงกว่าคนเอเชีย โดยมีสมมุติฐานว่า อาหารของคนเอเชีย เช่น คนญี่ปุ่น คนจีน น่าจะมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนหรือกระบวนการชีวเคมีในเซลล์ของคนโดยมีหลักฐานแสดงว่า สารประกอบที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน เรียกว่า "ไฟโตเอสโตรเจน" ซึ่งพบมากในถั่วเหลือง เมล็ดธัญพืชหลายชนิด และผลเบอร์รี่ มีฤทธิ์ป้องกันมะเร็งได้โดยมีผลต่อการสร้างฮอร์โมนเพศ กระบวนการเมตาบอลิซึม (การเผาผลาญ) การทำงานของเอนไซม์ การสร้างโปรตีน การเพิ่มจำนวนและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์มะเร็ง การเจริญเติบโตของหลอดเลือด เป็นต้น ดังนั้นการกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคบางอย่างได้ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งของเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์ และโรคกระดูกพรุน (osteopo-rosis)

ไฟโตเอสโตรเจนคืออะไร

ไฟโตเอสโตรเจนเป็นสารประกอบ
ที่พบได้ในพืชมากกว่า 300 ชนิด แต่มีมากที่สุดในถั่วเหลือง โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมีย แต่ออกฤทธิ์ได้ต่ำกว่าฮอร์โมนเอสโตรเจนของคน ไฟโตเอสโตรเจนมีคุณสมบัติคล้ายเอสโตรเจน สามารถแย่งที่กับเอสโตรเจนในการจับกับตัวรับเอสโตรเจนที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และชักนำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะต่อเอสโตรเจน โดยทั่วไปเนื้อเยื่อระบบสืบพันธุ์มีตัวรับเอสโตรเจนมากกว่าเป็นร้อยถึงพันเท่าของเซลล์กระดูกและเซลล์อื่นๆ ในร่างกาย มีงานวิจัยบ่งชี้ว่า ระดับไฟโตเอสโตรเจนในเลือดของคนหลังกินอาหารที่มีไฟโตเอสโตรเจนในปริมาณปกติ สามารถป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยเอสโตรเจนได้ ดังนั้น ไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจจะลดหรือยับยั้งฤทธิ์ของเอสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อเอสโตรเจนได้ เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น การบริโภค ไฟโตเอสโตรเจนจึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้
เราสามารถแบ่งไฟโตเอสโตรเจน
ออกได้เป็น 3 ชนิด ได้แก่ ไอโซฟลาโวน (isoflavones) คูเมสแตน (coumes-tans) และลิกแนน (lignan) ไฟโตเอสโตรเจนที่พบมากในอาหารที่กินเป็นประจำวัน คือ ไอโซฟลาโวน ซึ่งมีในถั่วหลายชนิด แหล่งอาหารสำคัญของไฟโตเอสโตรเจนที่ร่างกายของคนได้รับ คือ ถั่วเหลือง ในถั่วเหลืองมีไอโซฟลาโวน ที่สำคัญคือ ไดซีน (daidzein) และ จีนีสทีน (genistein)

มาติดตามกันต่อในตอน 2 ว่าถั่วเหลืองจะช่วยผู้หญิง
วัยทอง ได้อย่างไร...

http://home.kku.ac.th/srinagarind/index.php?option=com_content&view=article&id=213%3A-1&catid=54%3A2011-02-24-05-47-11&Itemid=61
All Replys: 0   Pages: 1/0