Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ซีสต์ และเนื้องอกที่เต้านม

วันที่: 2010-09-17 15:18:33.0view 43677reply 0

 

ซีสต์ และเนื้องอกที่เต้านม  (โรงพยาบาลพญาไท)
โดย นพ.กิติ จินดาวิจักษณ์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรงพยาบาลพญาไท 1

         โรค ซีสต์ในเต้านมเป็นโรคที่พบค่อนข้างบ่อยในสตรีวัยกลางคน เช่นเดียวกับโรคเนื้องอก (Fibrodenoma) ในสตรีวัยแรกรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งผู้ป่วยมักจะคลำพบได้เองแล้วไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ส่วนใหญ่ซีสต์และเนื้องอกไม่ใช่โรคมะเร็ง แต่สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้ป่วยอย่างมาก บางครั้งถึงกับนอนไม่หลับ


สาเหตุที่ทำให้เกิดซีสต์

         ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด บางครั้งสามารถพบได้ในครอบครัว เข้าใจว่าสาเหตุอาจเกิดจากฮอร์โมนเพศหญิงทำให้เกิดซีสต์ จากนั้นสามารถพัฒนาการให้โตขึ้นได้ โดยของเหลวที่อยู่ในซีสต์มีปริมาณมากขึ้น ทำให้โตและอาจทำให้มีอาการเจ็บเต้านมได้


การรักษา

         ซีสต์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ไม่มีอาการ ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แค่เฝ้าระวังและรับการตรวจเป็นระยะ ๆ อาจจะทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี แต่ถ้ามีขนาดโตขึ้นซึ่งผู้ป่วยสังเกตได้ ให้เข้ารับการรักษาโดยใช้เข็มดูดน้ำซีสต์ออก ถ้าน้ำที่ดูดออกมามีสีเหลือง ก็จะส่งตรวจดูเซลล์ว่ามีความผิดปกติอื่นใดหรือไม่

          ส่วนซีสต์ที่อยู่ในเต้านมที่ไม่ได้ทำการรักษา แต่ใช้การติดตามดูเป็นระยะ เมื่อถึงระยะที่หมดประจำเดือนหลาย ๆ ปีอาจจะยุบหายไปได้ ส่วนการรักษาอย่างอื่น คือใช้ยา Danazol แต่ผลข้างเคียงของยาชนิดนี้ จะทำให้เกิดสิว เสียงแหบ และขนขึ้นตามร่างกาย


เนื้องอกที่เต้านม

         เป็นเนื้อที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำนม ซึ่งสามารถเจริญเติบโตโดยอิทธิพลของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน จึงมักพบในหญิงสาวเป็นส่วนมาก ตัวเนื้องอกสามารถพัฒนาโตขึ้นหรืออาจหยุดอยู่คงที่ แต่จะไม่พัฒนาเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้นผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้องอกก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดทุกราย ยกเว้นกรณีที่มีการพัฒนาโตขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีความกังวลว่าจะเป็นมะเร็ง และขอรับการผ่าตัดเพื่อนำก้อนเนื้องอกออก

         ดังนั้นสตรีที่พบโรคเนื้องอกที่เต้านม จึงไม่ควรวิตกกังวลมากเกินไป แต่ให้ไปรับคำปรึกษาและตรวจโดยละเอียดจากแพทย์ ซึ่งในสตรีที่มีอายุน้อยสามารถตรวจด้วยอัลตร้าซาวด์ ส่วนสตรีที่สูงวัยจะได้รับการตรวจด้วยเครื่อง Mammogram ร่วมกับอัลตร้าซาวด์ เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคเบื้องต้นได้อย่างแม่นยำ

 

All Replys: 0   Pages: 1/0