Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

โมเลกุลส่งยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

วันที่: 2010-09-01 13:41:15.0view 43318reply 0

โมเลกุลส่งยารักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

              คณะนักวิจัยจากมหาว่ิทยาลัยเพอร์ดู สังเคราะห์โมเลกุลที่ค้นหาและแทรกซึมเข้าสู่เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากได้โดยตรง นอกจากนี้ยังสร้างสารที่ใช้แสดงตำแหน่งบนภาพฉายรังสีและยารักษาที่เชื่อมต่อกับโมเลกุลดังกล่าวและพาเข้าสู่เซลล์ได้

              ศ.ฟิลิป โลว์  ศาสตราจารย์ด้านชีวเคมี ผู้ได้รับรางวัลศาสตราจารย์ผู้มีผลงานอันโดดเด่นจากสถาบันราล์ฟ ซี. คอร์ลีย์ และสมาชิกศูนย์โรคมะเร็งเพอร์ดู ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัยนี้กล่าวว่า การรักษาตรงตำแหน่งเป้าหมาย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็ง และช่วยลดอันตรายจากผลข้างเคียงที่เกิดจากวิธีการรักษาในปัจจุบันลงอย่างมาก ผลการทดลองในหนูพบว่า โมเลกุลดังกล่าวให้ผลที่มีแนวโน้มกำจัดมะเร็งต่อมลูกหมากในคนได้โดยไม่ส่งผลข้างเคียงต่อเนื้อเยื่อปกติ

              "ปัจจุบันไม่มียาตัวใดที่ใช้รักษามะเร็งต่อมลูกหมากได้ตรงตำแหน่งมะเร็ง ซึ่งหมายความว่า ยากระจายไปทั่วร่างกาย ไม่ใช่เฉพาะตำแหน่งก้อนเนื้องอก และค่อนข้างเป็นพิษต่อผู้ป่วย จากการที่ยานี้สามารถจับเป้าหมายเฉพาะเซลล์มะเร็ง เราจึงขจัดปัญหาความเป็นพิษซึ่งเป็นผลข้างเคียงของการรักษาได้ ยิ่งไปกว่านั้นความสามารถในการจับเฉพาะเซลล์มะเร็งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฉายภาพเพื่อหาตำแหน่งมะเร็ง และวิเคราะห์ว่า มะเร็งนั้นเกิดการกระจายตัว หรือตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่อย่างไร" ศาสตราจารย์โลว์ กล่าว

               โมเลกุลที่คณะนักวิจัยสังเคราะห์ขึ้นนั้น เข้าจับกับแอนติเจนที่อยู่บริเวณผิวเซลล์ต่อมลูกหมาก ที่เรียกว่า prostate-spectic membrane antigen (PSMA) ซึ่งเป็ํนโปรตีนที่พบบริเวณผิวเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากถึง 90% และยังพบในเส้นเลือดบริเวณก้อนเนื้ออีกด้วย ซึ่งการเข้าจับตัวของโมเลกุลจะตัดการส่งเลือดไปเลี้ยงก้อนเนื้อได้

              เมื่อตรวจพบโปรตีน PSMA โมเลกุลซึ่งออกแบบให้มีรูปร่างจับตัวได้พอดีจะเข้าจับกับโปรตีนดังกล่าว ทั้งโมเลกุลและสารที่บรรจุในโมเลกุลจะถูกพาเข้าเซลล์โดยโปรตีนตามวัฏจักรปกติของเซลล์

              ใน พ.ศ. 2538 ศาสตราจารย์โลว์ ออกแบบโปรตีนที่มีลักษณะคล้ายกันนี้เพื่อแทรกซึมเข้าสู้เซลล์ได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นการนำโมเลกุลขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์ คล้ายกับกลยุทธ์ม้าไม้เมืองทรอย อย่างไรก็ตาม โมเลกุลขนาดใหญ่ดังกล่าวไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ได้

               ปัจจุบัันมีวิธีการฉายรังสีเพื่อถ่ายภาพมะเร็งต่อมลูกหมากเพียงวิธีเดียวที่ได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ ซึ่งวิธีดังกล่าวมีประสิทธิภาพต่ำมาก เนื่องจากข้อจำกัดของสารแสดงตำแหน่งมีขนาดใหญ่ ซึ่งแทรกเข้าสู่ก้อนเนื้อได้ยาก วิธีการใหม่นี้ใช้โมเลกุลและสารแสดงตำแหน่งที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมถึง 150 เท่า จึงแทรกซึมเข้าสู่เซลล์ทุกเซลล์ได้

ขอบคุณข้อมูลจาก คุณอัฉราภรณ์  ดวงแก้ว ครับผม

All Replys: 0   Pages: 1/0