Support
4life Immunity
0816516654
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 45626 | ความคิดเห็น: 0

พระ พิมพ์นางพญา หลวงพ่อ พ่วง วัดกก บางขุนเทียน เนื้อดินเผา สวยไม่ผ่านการบูชา พิมพ์หายากมากสร้างน้อย

 เพิ่มเมื่อ: 2012-03-29 19:34:23.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 0816516654
 อีเมลล์: meteekit@yahoo.co.th

รายละเอียด:
พระ พิมพ์นางพญา หลวงพ่อ พ่วง วัดกก บางขุนเทียน เนื้อดินเผา เดิมๆไม่ผ่านการบูชา หายาก สร้างน้อย ประสบการณ์เพียบจริง แต่พุทธคุณสูง ราคาเบา
1000.00 บาท

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ ปี05 รุ่น ผ้าป่าเพชรบุรี (บล็อคนิยม) กะหลั่ยเต็ม เหรียญหลวงพ่อหมอ ที่ระลึกงานผูกพัทธสีมา วัดเหนือใต้ อ.สรรคบุรี ชัยนาท ปี 2548 บูชา 150 บาท เหรียญหน้าตรงไม่มีห่วง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช กฐินสามัคคีมหากุศล วัดป่าสามัคคีสันติธรรม สมเด็จหูบายศรี เนื้อแหวกม่าน หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท สร้าง+เสก ยุคเก่า 2 พระพุทธทรงเครื่อง เนื้อสำริด ไม่ทราบที่

พระพิมพ์นางพญา หลวงพ่อ พ่วง วัดกก บางขุนเทียน เนื้อดินเผา เดิมๆไม่ผ่านการบูชา หายาก สร้างน้อย ประสบการณ์เพียบจริง แต่พุทธคุณสูง ราคาเบา

บูชาองค์ละ 1000 บาท

หลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียน ประวัติหลวงพ่อพ่วง วัดกก ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ วัตถุมงคลหลวงพ่อพ่วง ท่านมีหลายอย่าง พระเครื่องหลวงพ่อพ่วง เป็นที่กล่าวขานกันมากในสมัยนั้นถึงเรื่องมหาอุดคงกระพัน

พระเครื่องเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วง วัดกก บางขุนเทียน ในหนังสือพระเครื่องล้ำค่า ซึ่งเป็นพระที่มีพุทธคุณสูง อีกทั้งสนนราคาก็ยังไม่สูง หาได้ยังไม่ยากนัก เนื่องจากบางท่านอาจจะไม่รู้จัก ว่าเป็นของหลวงพ่อพ่วง และไม่ทราบประวัติของท่าน วันนี้ก็เลยขออนุญาตนำเรื่องราวของหลวงพ่อพ่วง วัดกก และพระเครื่องเนื้อดินเผาของท่านมาเล่าสู่กันฟังครับ

หลวงพ่อพ่วง วัดกก นี้ประวัติของท่านไม่ค่อยมีบันทึกไว้เท่าไรนัก รู้แต่เพียงท่านเป็นชาวบางขุนเทียน เกิดประมาณปี พ.ศ. 2400 ที่ตำบลแสมดำ เมื่อท่านมีอายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทที่วัดกก ซึ่งเป็นวัดที่อยู่ใกล้ๆ บ้านของท่าน เมื่อท่านบวชแล้วก็ได้ศึกษาเล่าเรียน และได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อคง เจ้าอาวาส วัดกกนั่นเอง หลวงพ่อคงนี้ท่านเป็นพระที่เก่งกล้าในทางวิทยาคมสูงมากในแถบย่านบางขุนเทียน ในสมัยนั้น และท่านก็ได้ถ่ายทอดวิทยาคมต่างๆ ให้แก่หลวงพ่อพ่วงจนหมดสิ้น นอกจากนี้ หลวงพ่อพ่วงท่านยังได้ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน และยังได้ศึกษาสรรพวิชาต่างๆ จากพระอาจารย์อีกหลายองค์ เนื่องจากไม่ได้บันทึกไว้จึงทำให้ไม่ทราบแน่ชัดว่าท่านได้เดินทางไปศึกษากับ พระอาจารย์ท่านใดบ้าง

หลวงพ่อพ่วงท่านออกธุดงค์แต่ละครั้งไปใน สถานที่ไกลๆ เป็นเวลานานๆ จนท่านได้ทราบข่าวว่าหลวงพ่อคงท่านมรณภาพลง จึงได้กลับมาอยู่ที่วัดกก ซึ่งในตอนนั้นหลวงพ่อดิษ เป็นเจ้าอาวาสปกครองอยู่ ต่อมาอีกไม่นานนักหลวงพ่อดิษท่านก็ลาสิกขาบทออกไป ชาวบ้านและกรรมการวัด เห็นพ้องต้องกันว่าหลวงพ่อพ่วงท่านเป็นพระที่ชาวบ้านเคารพเลื่อมใส และศรัทธาในตัวท่านมาก จึงได้พร้อมใจกันอาราธนาท่านรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกกสืบแทน หลังจากท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้พัฒนาวัดกกให้มีความเจริญ รุ่งเรืองสืบมาจนทุกวันนี้

เรื่องความศักดิ์สิทธิ์ในวัตถุมงคลของ หลวงพ่อพ่วงนั้น เป็นที่กล่าวขานกันมากในสมัยนั้นถึงเรื่องมหาอุดคงกระพัน และโดยเฉพาะทางด้านเมตตามหานิยม หลวงพ่อพ่วงวัดกกท่านนี้ยังเป็นพระกรรมวาจาจารย์ของหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง และหลวงพ่อไปล่ยังได้ไปเรียนวิชาจากหลวงพ่อพ่วงอีกด้วย ขนาดหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังยังยกย่องว่า "พระอุปัชฌาย์พ่วง วัดกก องค์นี้แหละท่านเก่งจริงๆ"

วัตถุมงคลที่หลวงพ่อพ่วงท่านได้สร้างไว้มีหลายอย่าง เช่น ในสมัยแรกๆ ท่านได้สร้างตะกรุด ลูกอม ผ้ายันต์แจกให้แก่ศิษย์ไว้คุ้มครองตัว ต่อมาในปี พ.ศ.2470 ท่านได้สร้างพระเนื้อผงใบลานเป็นพระพิมพ์สมาธินั่งบัว ปัจจุบันไม่ค่อยพบเห็น พระเครื่องเนื้อดินเผาผสมผงมวลสาร สร้างในปี พ.ศ.2473 ซึ่งมีทั้งหมด 24 พิมพ์ทรง และในปี พ.ศ.2478 ท่านได้สร้างพระเหรียญหล่อเนื้อเมฆพัด เป็นรูปท่านนั่ง มีทั้งแบบรูปไข่และทรงกลม ปัจจุบันหาได้ยากมาก สนนราคาสูงมากเช่นกัน

วันนี้ก็นำรูปพระเนื้อดินเผาของหลวงพ่อพ่วงมาให้ชมกันสององค์ครับ ซึ่งปัจจุบันพระเครื่องเนื้อดินของหลวงพ่อพ่วงยังพอหาได้ไม่ยากนัก สนน ราคาก็ตั้งแต่หลักพันจนถึงหลักหมื่นแล้วแต่พิมพ์ทรง และความสวยสมบูรณ์ขององค์พระครับ

“วัดกก” ตั้งอยู่ที่แขวงจอมทอง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ เป็นวัดเก่าแก่มาแต่โบราณ เล่ากันว่าสร้างโดย “เสนากก, เสนาเทพศักดิ์, เสนาเทพราช” ซึ่งทั้งสามเสนานี้เป็นผู้มีจิตอันเป็นกุศลที่จะทำการสร้างวัดเพื่อสืบ อายุพระพุทธศาสนาส่วน

ประวัติหลวงพ่อพ่วง วัดกก หรือ พระอุปัชฌาย์พ่วง วัดกก

“หลวงพ่อพ่วง” เป็นชาว “บางขุนเทียน” เกิดที่ตำบลแสมดำ ทั้งบิดาและมารดาต่างก็ชื่อ “พุ่ม” เช่นกัน นามสกุล “พุ่มพยุง” และจากที่ “หลวงพ่อ” เป็นพระเถระที่สงบเงียบไม่ค่อยพูดจึงไม่มีใครกล้าคุยกับท่านมากนัก เพราะคิดว่าท่านดุแต่โดยแท้จริงท่านเป็นพระที่มี “เมตตามาก” คนใกล้ชิดทราบดี ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และมีน้องชายชื่อ “หลวงพ่อรอด” เพราะหลังจากอุปสมบทแล้วก็ได้รับแต่งตั้งเป็น “เจ้าอาวาสวัดแสมดำ” ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า “หลวงพ่อรอด” ทางด้าน “หลวงพ่อพ่วง” เมื่ออายุครบบวชก็อุปสมบทที่ วัดกก โดยมี “หลวงพ่อวัดหัวกระบือ” เป็นพระอุปัชฌาย์ “หลวงพ่อคง วัดกก” เป็นคู่สวดได้รับฉายาว่า “ธมฺโชติก” หรือ “ธรรมโชติ” หมายถึงผู้ “มีธรรมอันสว่างไสวเข้าใจธรรมได้กระจ่างแจ้ง” หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาทาง “วิปัสสนา” กับ “หลวงพ่อคง” และพระอุปัชฌาย์ของท่านที่ “วัดหัวกระบือ” อยู่หลายพรรษาจึงออก “ธุดงค์” ไปแสวงหาความสงบวิเวกเป็นการทดสอบ “พลังจิต” และฝึกฝนวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามา

“นายเยื้อน บุญฟัก” อายุ ๘๑ ปี เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า “คราวหนึ่งคุณแม่ของแกเองชื่อ “นางแปลก” ป่วยหนักจึงนำตัวไปรักษาที่ “บ้านหมอไหม” ย่านบางมดนานหลายวันอาการกลับ “ทรุดลง” ไม่ดีขึ้นเลยวันหนึ่ง “นายเยื้อน” เดินผ่านกุฏิ “หลวงพ่อพ่วง” ท่านเห็นจึงเรียกให้ขึ้นไปหาแล้วบอกว่า “ต้องเปลี่ยนหมอที่รักษาคุณแม่ใหม่แล้วจะหาย ไม่เช่นนั้นแม่แกตายแน่” เมื่อได้ยินเช่นนั้น “นายเยื้อน” รีบไปรับ “คุณแม่” จากบ้าน “หมอไหม” โดยอุ้มลงเรือพาไปหา “หมออ่ำ ปากคลองบางกระแนะ” ซึ่งพอไปถึง “หมออ่ำ” ก็ทำการรักษาไม่นานอาการก็ “ดีขึ้น” กระทั่งหายเป็นปกติตั้งแต่นั้นมา “นายเยื้อน” จึงเพิ่มความเคารพนับถือ “หลวงพ่อพ่วง” มากขึ้นมักบอกใครต่อใครว่า “หลวงพ่อพ่วงท่านแน่จริงไม่ต้องถามอะไรเลย ท่านก็ล่วงรู้ได้แจ่มแจ้งเหมือนตาเห็นแสดงว่าญาณของท่านสูงยิ่งนัก” ต่อมาทางคณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่า “หลวงพ่อพ่วง” เป็นพระเถระที่ชาวบ้านเคารพนับถือและมีศีลาจารวัตรดียิ่ง สามารถปกครองพระให้มีระเบียบเรียบร้อย จึงแต่งตั้งให้เป็น “พระอุปัชฌาย์พ่วง” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่ง ขณะนั้นท่านมีพรรษาได้เพียง ๒๐ พรรษาเท่านั้นเพราะสมัยนั้น “พระอุปัชฌาย์” มิใช่จะตั้งกันได้ง่าย ๆ เพราะช่วงนั้น “บางขุนเทียน” มีเพียงรูปเดียวคือ “หลวงปู่เอี่ยม” หรือ “เจ้าคุณเฒ่าวัดหนัง” ต่อมาจึงมี “หลวงพ่อพ่วง” เพิ่มอีกเป็น ๒ รูป ดังนั้นสมัยที่ “หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง” ทำการบวชก็มี “หลวงพ่อ” เป็นพระกรรมวาจาจารย์และหลังบวชแล้ว ก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาและพุทธาคมจาก “หลวงพ่อพ่วง วัดกก”

อีกเรื่องที่ต้องเล่าให้ฟังคือ “พระอรุณ อรุโณ” สมัยเด็กก็บวชอยู่ที่ “วัดกก” จึงได้เป็น “ลูกศิษย์” ของ “หลวงพ่อพ่วง” เล่าว่า “หลวงพ่อพ่วงเป็นพระที่เคร่งมาก ไม่เคยจับเงินเลย ใครถวายท่านก็ให้ศิษย์เก็บเอาไว้ไม่แตะต้องทั้งสิ้น มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านไปสวดมนต์ฉันเพลที่บ้านญาติโยมซึ่งเอาเรือมารับ พอท่านลงจากกุฏิไปแล้วลูกศิษย์ก็ออกจากกุฏิใส่กุญแจ ซึ่งกุญแจนั้นสามารถกดเข้าไปก็ล็อกได้แต่วันนั้นเมื่อล็อกแล้ว ปรากฏว่าลืมลูกกุญแจไว้ในกุฏิ ดังนั้นเมื่อ “หลวงพ่อพ่วง” กลับจากกิจนิมนต์จึงเข้ากุฏิไม่ได้แต่ท่านก็มิได้ว่ากล่าวใด ๆ สั่งให้ลูกศิษย์ไปหิ้วของที่ท่าน้ำครั้นลูกศิษย์กลับมาก็พบว่า “หลวงพ่อ” เข้าไปอยู่ในกุฏิแล้วโดยที่ประตูกุฏิยังคงปิดอยู่เช่นเดิม ซึ่งเรื่องนี้สร้างความสงสัยให้กับ “พระอรุณ อรุโณ” เป็นอย่างยิ่งแต่ก็ไม่กล้าถามเพราะทราบดีอยู่ก่อนแล้วว่า “หลวงพ่อ” มีวิชาอาคมเข้มขลัง อีกเรื่อง “หลวงพ่อน้อม” อดีตเจ้าอาวาสวัดกกเล่าให้ผู้คนฟังขณะ หลวงพ่อพ่วง สร้าง “พระเนื้อดิน” ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้น “นายจง พึ่งพรหม” ซึ่งเป็นช่างแกะแม่พิมพ์เดินผ่านมาหลวงพ่อจึงเรียกแล้วบอกว่า “ให้ไปดู นายตู้ พึ่งพรหม น้องชายที่บ้านซิว่ายังอยู่ดีหรือ” นายจงได้ยินจึงรีบไปดูปรากฏว่า “นายตู้” ผู้น้องชายกำลังเจ็บไข้ไม่สบายจึงกลับมาบอกหลวงพ่อซึ่งท่านก็ไม่ว่ากระไรแต่ พอวันรุ่งขึ้น “นายตู้” ก็เสียชีวิต “หลวงพ่อ” จึงได้แต่บอกว่า “เขาหมดอายุแล้ว” ซึ่งเรื่องนี้ “หลวงพ่อน้อม” เล่าว่าได้ยินมากับหูของท่านเองจึงแสดงว่า “หลวงพ่อพ่วง” มีญาณวิเศษหยั่งรู้กาลชะตาของคนอื่นได้เหมือนตาเห็นนอกจากนี้ “พระอรุณ อรุโณ” ยังพูดถึงมงคลวัตถุของหลวงพ่อพ่วงว่า “พระเนื้อดินเผา” ของ หลวงพ่อพ่วง วัดกก มีพุทธคุณเยี่ยมมีคนได้รับประสบการณ์กันมากมายนับไม่ถ้วน

“คุณปู่เยื้อน บุญฟัก” เป็นอีกผู้หนึ่งที่รู้เห็นเรื่องอภินิหารของ “หลวงพ่อพ่วง วัดกก” โดยได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า “คราวหนึ่งหลวงพ่อพ่วง” ไปงานสวดสดับปกรณ์ครั้นสวดจบในหลวง “รัชกาลที่ ๕” ทรงถวายเงินที่ห่อด้วยผ้าให้ท่านโดยที่ หลวงพ่อพ่วง ไม่รู้ว่าในห่อผ้านั้นเป็นเงินจึงไปหยิบ แต่เมื่อมารู้ภายหลังท่านรีบยกเงินห่อนั้นให้ “ปู่เยื้อน” ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็กและคอยติดตามหลวงพ่อไปในทุกงานรับกิจนิมนต์ พร้อมทั้งยกย่องหลวงพ่อว่าเป็นผู้ไม่ติดในโทสะ เพราะท่านไม่เคยโกรธหรือดุด่าว่าใครแต่ท่านมีตบะแรงกล้าคนเห็นจึงเกรงกลัว แม้แต่รสอาหารท่านก็ไม่หลงเพราะตลอดชีวิตสมณะของท่านเอาแต่ “ฉันเจ” กระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทิ้งไว้แต่อนุสรณ์แห่งคุณงามความดีและพระเครื่องอันเข้มขลังไว้ช่วยเหลือผู้ เลื่อมใสศรัทธาต่อไป จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งของท่านผู้อ่านที่สนใจมี “ของดี” ขณะที่ยังไม่มีใครสนใจราคาก็ไม่สูงแค่หลักร้อยเท่านั้น

หลวงพ่อน้อม ญาณสุทธิ อดีตเจ้าอาวาสเล่าว่า ตอนสร้างพระท่านยังอายุไม่มากนัก จำได้ว่า หลวงพ่อพ่วงได้ไปเอาดินเหนียวจากบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี แล้วเอามาผสมผงวิเศษซึ่งท่านจารสูตรสนธิขึ้น อันมี ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเห ผงปถมัง ผงมหาราช และผงพุทธคุณ ซึ่งหลวงพ่อพ่วงท่านชำนิชำนาญทางจารสูตรต่าง ๆ เหล่านั้น

นอกจากนี้ยังผสมด้วยสมุนไพรและว่านต่าง ๆ แร่บด ตลอดจน ปากเหยี่ยว ปากกา เขี้ยวเสือ เล็บเสือ งาช้าง (เป็นของจริง ๆ) นำมาผสมลงในดินที่ท่านสร้างพระเครื่อง

หลวง พ่อน้อมเล่าว่า คนแกะพิมพ์พระได้แก่ นายจง พึ่งพรหม และ นายชิต ช่วยกันแกะพิมพ์ ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นฝีมือของนายจง ส่วนพิมพ์เล็ก ๆ มักเป็นของนายชิต เมื่อแกะพิมพ์เสร็จแล้ว หลวงพ่อได้เอาดินมาผสมผงและเครื่องสมุนไพรของเคล็ดต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้วจึงได้กดพิมพ์พระ ท่านตั้งใจจะสร้างให้ได้ 84000 องค์ จึงได้ขอให้พระวัดใหม่สีสุก และวัดยายร่ม ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกันมาช่วยกันกดพิมพ์พระด้วย

เท่าที่คนพบปรากฏมีทั้งหมดขณะนี้ 18 พิมพ์ แต่หลวงพ่อน้อมจำได้ว่าจะมีมากกว่านี้ แต่ยังไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ใดบ้าง เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วท่านได้นำเข้าเผาโดยสุมแกลบที่ลานวัด ขณะเผาท่านจะไปเฝ้าบริกรรมปลุกเสก แสดงว่าท่านต้องการแผ่พลังจิตลงไปขณะพระได้รับความร้อน เป็นการหนุนเตโชธาตุ ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี ซึ่งปลุกเสกขณะพระกำลังเผาเช่นกัน

หลังจากเผาแล้ว จึงได้นำเข้าปลุกเสกภายในอุโบสถวัดกก เป็นเวลานานหลายพรรษา ท่านปลุกเสกอยู่ตลอดแทบทุกวันหลังจากทำวัตรสวดมนต์ในพระอุโบสถตั้งแต่ปี พ.ศ.2473 จนถึง ปี พ.ศ.2479 รวมแล้วได้ 6 ปีเต็ม จึงนำพระเครื่องทั้งหมดขึ้นเก็บไว้บนเพดานพระอุโบสถ

ได้รับความเอื้อเฟื้อจาก นิตยสารลานโพธิ์ และ คุณตั้มศรีวิชัย ขอบคุณครับ

guest
ชื่อ
Email
เบอร์โทรศัพท์