โรคตับอักเสบบี (Hepatitis B) โรคตับอักเสบเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิด ที่พบบ่อยคือไวรัสเอ (HAV) และไวรัสบี (HBV) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงกัน แต่ระบาดวิทยาของโรคต่างกัน โรคตับอักเสบบีมีความรุนแรงมากกว่าโรคตับอักเสบเอ และมีโอกาสที่จะเป็นเรื้อรังและเชื้อ HBV จะนำไปสู่มะเร็งตับได้ ปัจจุบันมีวัคซีนที่ป้องกันโรคได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Hepatitis B Virus (HBV) ซึ่งเป็น DNA ไวรัส จัดอยู่ในกลุ่ม Hepadnavirus มีส่วนของไวรัสที่สำคัญ ซึ่งเป็น antigen ที่มี markers ที่สำคัญของโรค คือ Hepatitis B surface antigen (HBsAg), Hepatitis B core antigen (HBcAg) และ Hepatitis e antigen (HBeAg) ซึ่งจะมีอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่ง (secretion) ต่าง ๆ ของร่างกาย ระบาดวิทยา เชื้อ HBV ติดต่อกันได้ทางเลือดและน้ำคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น น้ำลาย เสมหะ น้ำนม น้ำอสุจิ โดยเลือดจะเป็นแหล่งสำคัญที่มีเชื้ออยู่เป็นจำนวนมากที่สุด และในน้ำลายมีน้อยที่สุด ผู้ที่มีเชื้อ HBV อยู่ในร่างกายเกิน 6 เดือน ถือเป็นพาหะของโรค (carrier) ซึ่งมีความสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อไปให้ผู้อื่น ทางติดต่อที่สำคัญคือการได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดที่มี HBV การใช้เข็มหรือหลอดฉีดยาร่วมกัน การสัมผัสกับเลือด หรือน้ำคัดหลั่งต่าง ๆ ผ่านทางผิวหนัง หรือเยื่อบุต่าง ๆ และติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ การติดต่อคล้ายกับโรคเอดส์ ผู้ที่มีการติดเชื้อ HBV เรื้อรังจะตายจากโรคตับเรื้อรัง หรือเป็นมะเร็งที่ตับ การติดเชื้อในวัยทารกและวัยเด็กมีโอกาสที่จะเป็น carrier สูงกว่าวัยผู้ใหญ่ และนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยโรคตับได้สูงกว่าแม่ที่เป็น carrier จะถ่ายทอดเชื้อไปยังลูกได้ มีรายงานว่าประมาณร้อยละ 70-90 ของทารกที่แม่มี HBsAg จะมีอาการติดเชื้อแบบเรื้อรัง ถ้าไม่ติดเชื้อในช่วง perinatal หลังคลอดจนถึงอายุ 5 ปี เด็กที่มีแม่เป็น HBsAg carrier ก็มีโอกาสติดเชื้อ HBV ได้สูงกว่าเด็กที่แม่ไม่มี HBsAg โรคตับอักเสบเกิดได้จากเชื้อไวรัสหลายชนิด ที่พบบ่อยคือไวรัสเอ (HAV) และไวรัสบี (HBV) ซึ่งทั้งสองชนิดนี้ทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงกัน แต่ระบาดวิทยาของโรคต่างกัน โรคตับอักเสบบีมีความรุนแรงมากกว่าโรคตับอักเสบเอ และมีโอกาสที่จะเป็นเรื้อรังและเชื้อ HBV จะนำไปสู่มะเร็งตับได้ ปัจจุบันมีวัคซีนที่ป้องกันโรคได้ สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส Hepatitis B Virus (HBV) ซึ่งเป็น DNA ไวรัส จัดอยู่ในกลุ่ม Hepadnavirus มีส่วนของไวรัสที่สำคัญ ซึ่งเป็น antigen ที่มี markers ที่สำคัญของโรค คือ Hepatitis B surface antigen (HBsAg), Hepatitis B core antigen (HBcAg) และ Hepatitis e antigen (HBeAg) ซึ่งจะมีอยู่ในเลือดและน้ำคัดหลั่ง (secretion) ต่าง ๆ ของร่างกาย ระบาดวิทยา เชื้อ HBV ติดต่อกันได้ทางเลือดและน้ำคัดหลั่งต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น น้ำลาย เสมหะ น้ำนม น้ำอสุจิ โดยเลือดจะเป็นแหล่งสำคัญที่มีเชื้ออยู่เป็นจำนวนมากที่สุด และในน้ำลายมีน้อยที่สุด ผู้ที่มีเชื้อ HBV อยู่ในร่างกายเกิน 6 เดือน ถือเป็นพาหะของโรค (carrier) ซึ่งมีความสำคัญในการแพร่กระจายเชื้อไปให้ผู้อื่น ทางติดต่อที่สำคัญคือการได้รับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดที่มี HBV การใช้เข็มหรือหลอดฉีดยาร่วมกัน การสัมผัสกับเลือด หรือน้ำคัดหลั่งต่าง ๆ ผ่านทางผิวหนัง หรือเยื่อบุต่าง ๆ และติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ การติดต่อคล้ายกับโรคเอดส์ ผู้ที่มีการติดเชื้อ HBV เรื้อรังจะตายจากโรคตับเรื้อรัง หรือเป็นมะเร็งที่ตับ การติดเชื้อในวัยทารกและวัยเด็กมีโอกาสที่จะเป็น carrier สูงกว่าวัยผู้ใหญ่ และนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยโรคตับได้สูงกว่าแม่ที่เป็น carrier จะถ่ายทอดเชื้อไปยังลูกได้ มีรายงานว่าประมาณร้อยละ 70-90 ของทารกที่แม่มี HBsAg จะมีอาการติดเชื้อแบบเรื้อรัง ถ้าไม่ติดเชื้อในช่วง perinatal หลังคลอดจนถึงอายุ 5 ปี เด็กที่มีแม่เป็น HBsAg carrier ก็มีโอกาสติดเชื้อ HBV ได้สูงกว่าเด็กที่แม่ไม่มี HBsAg โดยสรุปผู้ที่เป็นพาหะของโรค (มี HBsAg) สามารถแพร่เชื้อได้ทาง อาการและอาการแสดง ระยะฟักตัวของโรค 50-150 วัน เฉลี่ย 120 วัน ส่วนใหญ่ของผู้ติดเชื้อจะไม่มีอาการ แต่อาจจะเป็นพาหะได้โดยเฉพาะในเด็กทารก การติดเชื้อในวัยทารกและเด็กเล็กโอกาสเป็นพาหะจะสูงกว่าในผู้ใหญ่ อาการของผู้ป่วยตับอักเสบบีจะเริ่มด้วยมีไข้ต่ำๆ มีอาการทางระบบทางเดินอาหาร อาจเบื่ออาหารอย่างรุนแรง น้ำหนักลด อาเจียน ปวดท้อง อาจปวดทั่วไปหรือปวดบริเวณชายโครงขวา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่คลำพบว่าตับโต กดเจ็บ จะสังเกตว่าปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเป็นสีชาแก่ เริ่มมีอาการตาเหลืองตัวเหลืองในปลายสัปดาห์แรก ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ไข้จะลดลง อาการทั่วไปจะดีขึ้น ในเด็กส่วนใหญ่ อาการของโรคตับอักเสบจะไม่รุนแรงมากเท่าในผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 2-4 สัปดาห์ แต่ไวรัสบียังคงอยู่ในตัว ทำให้คนนั้นกลายเป็นพาหะของไวรัสบี คอยแพร่เชื้อให้คนอื่นที่ไม่มีภูมิต้านทานหรือภูมิต้่านทานต่ำ มีส่วนน้อยที่กลายเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายที่รุนแรงมากจะมีภาวะตับวาย ซึ่งทำให้ถึงเสียชีวิต การวินิจฉัย จากอาการดังกล่าวร่วมกับการตรวจพบการทำหน้าที่ของตับผิดปกติโดยการตรวจ เอนไซม์ จะบอกได้ว่าเป็นโรคตับอักเสบ แต่จะบอกได้แน่นอนว่าเป็นตับอักเสบจากเชื้อ HBV ได้โดยการตรวจพบ HBsAg และตรวจพบ antibody ต่อ antigen ต่างๆ การรักษา ไม่มียาเฉพาะ การรักษาเป็นการให้การรักษาตามอาการและแบบประคับประคองให้อาหารที่มีคุณค่า การแยกผู้ป่วย เนื่องจากติดต่อกันทางเลือดและน้ำคัดหลั่งต่างๆ จึงจะต้องป้องกันแบบ universal precaution (เช่นเดียวกับโรคเอดส์) และในช่วงที่ไม่ทราบว่าเป็นชนิดใดแน่ จะต้องแยกแบบ enteric precaution เพราะเชื้อตับอักเสบชนิดเอ และ อี (hepatitis E virus) ติดต่อกันทาง fecal oral route การป้องกัน ความปัจจุบันนี้มีวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีได้แล้ว บ้านเราฉีดให้กับเด็กแรกเกิดทุกคนด้วยซ้ำ ดังนั้นจึงไม่ค่อยน่าเป็นห่วงสำหรับเด็กรุ่นใหม่แต่อย่างใด แต่คนที่เป็นพาหะหรือมีไวรัสบีในตัว ต้องคอยระวังตัวเองไม่ให้ภูมิต้านทานของตัวเองต่ำ เพราะถ้าเผลอเมื่อใด ไวรัสบีที่คอยจ้องจะทำให้ตับเกิดอาการอักเสบขึ้นมาทันที กลายเป็นโรคเรื้อรัง การที่ปล่อยให้ตับอักเสบบ่อยๆ ทำให้ตับเกิดการระคายเคืองเป็นระยะ ตับก็จะพยายามซ่อมตัวเอง ทำให้บางครั้งเกิดเนื้อเยื่อที่ไม่เหมือนกับเนื้อตับเดิม กลายเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็งตับขึ้นมา จากสถิติ หากมีไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในร่างกายนาน ประมาณ 40-50ปี คนคนนั้นจะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งตับได้สูงมาก ใครก็ตามที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในตัวไม่ว่าจะเป็นพาหะก็ตาม ก็มีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งตับได้ และต้องดูแลตัวเองให้ดี ไม่ให้ภูมิต้านทานของตัวเองเพลี่ยงพล้ำต่อเชื้อไวรัสได้ จึงจะลดอัตราเสี่ยงนี้ลงได้ และระมัดระวังตัวเองในชีวิตประจำวัน ดังนี้ 1) หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือการให้เลือดหรือส่วนประกอบต่างๆ ของเลือดโดยไม่จำเป็น
วิธีธรรมชาติในการยับยั้งอาการมะเร็งตับไม่ให้เกิดขึ้น 1. งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด 1. กินข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท ซึ่งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ไม่ได้ขัดขาวทุกมื้อ 2. กินผักสด หรือผลไม้สดทุกมื้อ เช่น มื้อเช้ากินผลไม้สด มื้อเที่ยงกินส้มตำ มื้อเย็นกินสลัดผัก กินน้ำคั้นจากผักและผลไม้สด วันละ 2 แก้ว (200 ซีซี) 3. เนื้อสัตว์ ให้กินปลา อาหารทะเล และไข่ ถ้าจะอยากกินไก่ ให้กินไก่พื้นบ้าน และลอกหนังออก 4. น้ำมันพืช ใช้เพียงเล็กน้อย พอให้ของที่ผัดไม่ติดกระทะ
1. กินข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีทเช่นเดิม 2. กินผักสด ผลไม้สดทุกมื้อ กินน้ำคั้นจากผักสดและผลไม้สดวันละ 4 แก้ว (200 ซีซี) 3. งดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ งดปลา กินมังสวิรัติ เช่น เต้าหู้ เห็ด วุ้นเส้น แทน 4. งดน้ำมันทุกประเภท และกะทิ ให้กินแกงส้ม ต้มยำ ยำ ลาบ น้ำพริก แทน
ระยะที่สาม ตลอดไป 1. กินข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท เช่นเดิม 2. กินผักสด ผลไม้สดทุกมื้อ กินน้ำคั้นจากผักสดและผลไม้สด วันละ 2 แก้ว (200 ซีซี) 3. กินปลา และสัตว์น้ำได้ งดไก่ และไข่ 4. งดน้ำมันทุกประเภท งดกะทิ ต่อไปนี้เป็นเมนูตัวอย่าง แนะนำพอเป็นแนวทางเหมาะสำหรับคนที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีค่ะ ข้าวกล้องราดหน้าซีฟู้ด เครื่องปรุง ข้าวกล้อง 1 ทัพพี กุ้งแช่บ๊วย 2 ตัว ปลาหมึกหั่น 2 ชิ้น เนื้อปลากะพงขาว 1 ชิ้น หอยแมลงภู่ 2 ตัว พริกไทยป่น ¼ ช้อนชา รากผักชี 1-2 ราก กระเทียม 3-4 กลีบ น้ำปลา น้ำตาลนิดหน่อย น้ำมันพืช น้ำซุป พริกขี้หนูสด (ถ้าชอบเผ็ด) วิธีทำ โขลก รากผักชี กระเทียม โรยพริกไทย ถ้าชอบเผ็ดใส่พริกขี้หนูลงไป ทุบพอแตก 2-3 เม็ด เอากระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพืชลงไปเล็กน้อย ผัดเครื่องก่อนแล้วเอากุ้ง ปลาหมึก หอย ลงผัดพอสุก ใส่ปลากะพงทีหลัง เติมน้ำซุปพอขลุกขลิก ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล (ถ้าชอบหวาน) แล้วนำไปราดข้าวกล้อง หมายเหตุ 2 สัปดาห์แรกเป็นเมนูที่ค่อยๆ ทำให้คุณชินกับอาหารไขมันต่ำ และการงดเนื้อสัตว์ใหญ่ เครื่องปรุง เต้าหู้หลอด 1 หลอด มิโซะ 1 ช้อนโต๊ะ ต้นหอม 1-2 ต้น น้ำซุป 1 ถ้วยแกง วิธีทำ หั่นเต้าหู้เป็นแว่นแล้วผ่าเป็น 4 ส่วน ต้มน้ำซุปให้เดือด ละลายมิโซะลงไป ใส่เต้าหู้ และต้นหอมหั่นทีหลัง หมายเหตุ เมนู นี้เป็นแบบมังสวิรัติ เหมาะสำหรับกินในระยะที่สอง ซึ่งต้องกินมังสวิรัติและไม่ใช้น้ำมัน บางครั้งหันมาใช้มิโซะใส่ลงไปในน้ำแกง ก็จะทำให้หายเบื่อกับแกงจืดแบบเดิมๆได้ ถ้าไม่มีมิโซะ จะใช้เต้าเจี้ยวแบบจีนอย่างดีใส่ลงไปแทนก็ได้ (แต่อย่างใส่ให้เค็มมากนะครับ จะทำให้ตับ
เครื่องปรุง วุ้น เส้นแช่น้ำแล้ว 1 ห่อเล็ก เต้าหู้แข็ง ¼ ก้อน กระเทียมบุบ 2-3 กลีบ น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา น้ำตาลปีบนิดหน่อย ถั่วงอก 1 หยิบมือ กู๋ไช่ 2-3 ต้น หัวปลี น้ำซุป มะนาว วิธีทำ เอา น้ำซุปใส่กระทะ จนเดือดจัด ใส่กระเทียมบุบลงไปผัดกับน้ำจนหอม เอาเต้าหู้และวุ้นเส้นลงผัด ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะขามเปียก น้ำตาลปีบ ใส่ถั่วงอก และกู๋ไช่ กินกับหัวปลี ก้านกู๋ไช่ ถ้าไม่เปรี้ยวพอให้บีบมะนาว หมายเหตุ เมนู นี้เป็นตัวอย่างของอาหารในระยะที่สอง ซึ่งห้ามน้ำมัน อะไรที่ต้องการผัดสามารถใช้น้ำซุปผัดแทนได้ แค่นี้ก็ไม่ต้องเป็นภาระของตับที่จะย่อยน้ำมันแล้ว
เครื่องปรุง วิธีทำ โขลกพริกขี้หนู กระเทียม กะปิ กุ้งแห้งเข้าด้วยกัน ละลายน้ำซุปพอขลุกขลิก ปรุงรสด้วยน้ำตาลปีบและมะนาวแล้วแต่ชอบ หมายเหตุ การกินปลาไม่จำเป้นต้องทอดเสมอไป จะย่างบ้าง ใส่ไมโครเวฟบ้าง นึ่ง หรือต้มบ้างก็ได้ .................................................................................................................................................................................
สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข
หนังสือกุลสตรี คอลัมน์เพื่อชีวิตและสุขภาพ
คุณ Ni และคุณ Jimmie B จาก Yahoo รอบรู้
ยาใหม่รักษาไวรัสบี ความหวังในคนไข้ตับอักเสบ |
Previous | โรคไวรัสตับอักเสบ เอ ในเด็ก |
|
|
|