ลืม password | สมัครสมาชิก
วันที่: 2013-04-28 13:58:39.0view 34283reply 0
ชักจากไข้สูงในเด็ก ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีความรู้ ตอนที่2 การรักษา มาต่อกันนะครับ ตอนที่แล้วลืมบอไปว่าไข้สูงคือไข้ที่มากกว่า 38.3 องศาเซลเซียส แต่มักจะพบอาารชักเมื่อไข้สูงเกิน 38.5-39 องศาเซลเซียวนะครับ เมื่อพยายามลดไข้แล้วแต่ไข้ไม่ลงจริงๆจนลูกชักในที่สุด สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเป็นอย่างแรกคือ"มีสติ" ครับ อย่าตกใจ ... ดูนาฬิกาเวลาที่ลูกเริ่มชัก จำไว้ รีบโทรตามรถพยาบาลหรือรีบมาโรงพยาบาลทันทีครับระหว่างทางไปโรงพยาบาล ยังคงเช็ดตัวตามวิธีที่บอกไปเรื่อยๆ นะครับตะแคงตัวเด็กเพื่อป้องกันการอาเจียนแล้วสำลัก ไม่ต้องหาอะไรยัดปากนะครับ จะทำให้เกิดการบาดเจ็บในปากเพิ่มเติมอีก ถ้าหยุดชักระหว่างทางมาโรงพยาบาลให้ดูเวลาอีกครั้งว่าลูกชักไปนานแค่ไหน เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแล้วเด็กยังชักอยู่คุณหมอจะฉีดยากันชัก ทันที ให้น้ำเกลือ เก็บเลือดไปตรวจแล้วซักถามอาการ ประวัติต่างๆจากคุณพ่อคุณแม่ ระยะเวลาที่ชัก อาการไข้อาการต่าง ประวัติโรคประจำตัว ประวัติลมชักในครอบครัวเป็นต้น และทำการตรวจร่างกาย คุณพ่อคุณแม่ต้องมีสติดีๆครับอย่าตกใจ ให้ประวัติให้ครบถ้วนเพราะประวัติต่างๆเหล่านี้มีผลในการช่วยการรักษาและวินิจฉัยได้มากครับ ในเคสทั่วๆไป เมื่อให้ยากันชักทางเส้นเลือดเด็กก็มักจะหยุดชักทันที และจะกลับมาร้อง มีสติตามปกติภายใน 1 ชม.นะครับ (ถ้ายังไม่หยุดชักซึ่งพบได้น้อยก็จะมีวิธีการรักษาต่อไปครับ) อาการชักจากไข้สูงมีสาเหตุของไขhได้หลากหลายครับ โดยส่วนมากก็เป็นการติดเชื้อไวรัส ในทางเดินหายใจทางเดินอาหาร มีไอ น้ำมูก เจ็บคอ ท้องเสีย อาเจียนร่วมด้วย สิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ซึ่งในเด็กเค้าจะบอกอาการเราไม่ได้ อย่างในผู้ใหญ่จะมีอาการ เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปวดหลังเวลาเคาะ จึงต้องตรวจปัสสาวะในทุกเคสที่มีอาการชักจากไข้สูงครับ ซึ่งการหาสาเหตุของไข้นี้จะทำไดhจากการตรวจร่างกาย ตรวจ lab ดูผลเลือด ผลปัสสาวะ ตามอาการป่วยของเด็กนะครับ ถ้ายังจำได้ในบทความตอนที่ 1 การวินิจฉัยชักจากไข้สูง ผมบอกว่าต้องแยกการติดเชื้อในระบบประสาท/สมองออกด้วย การแยกนี้ในเด็กที่โตหน่อย ตั้งแต่ 1-2 ขวบจะสามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย โดยจะพบลักษณะเช่น คอแข็ง (neck stiffness) ในเด็กที่มีเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือไข้สมองอักเสบบางอย่าง ซึ่งต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาเชื้อโดยการเจาะหลังเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจเพาะเชื้อครับ แต่ในเด็กเล็กๆ เช่นอายุน้อยกว่า 12-18 เดือนการตรวจร่างกายทำได้ยาก ดังนั้นหากสงสัยคุณหมออาจจะพิจารณาขอคุณพ่อคุณแม่ เจาะหลังน้องเพื่อเอาน้ำเลี้ยงไขสันหลังไปตรวจเพื่อแยกว่าไม่มีการติดเชื้อในสมองนะครับ ซึ่งเป็นหัตการปกติอันตรายมีน้อยและเป็นสิ่งที่จำเป็นครับไม่ต้องกังวลไป เพราะหากมีการติดเชื้อในระบบประสาทและสมองแล้วได้รับการรักษาช้า จะส่งผลกับสมองและพัฒนาการระยะยาวได้ การรักษาหลังหยุดชักก็จะเป็นการรักษาสาเหตุของไข้ตามที่ตรวจพบครับ เช่น การให้ยาฆ่าเชื้อตามชนิดของเชื้อ ให้สารน้ำทางเส้นเลือดในช่วงที่เด็กยังกินได้น้อยให้ยาลดไข้เมื่อมีไข้ เมื่อไข้ลงดีเรียบร้อย เด็กกินได้ตามปกติ ให้ยาฆ่าเชื้อครบก็สามารถกลับบ้านได้ครับ ^^ มีต่อกับคำถามที่ทุกคนอยากรู้ ตอนที่ 3 นะครับ Admin Dr.Jameดูเพิ่มเติม